วันที่ 13 กันยายน 2564 ความก้าวหน้าผลการดำเนินงานขุดลอกร่องน้ำแหลมทองหลาง อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด คิดเป็นร้อยละ 15.79 ของแผนงาน

โดยเรือเจ้าท่าข.23 เรือเจ้าท่า 223 ระยะทาง 670 เมตร ความลึก 1.50 เมตรจากน้ำลงต่ำสุด ปริมาณวัสดุขุดลอก 63,515 ลบม. ระยะแนวท่อส่งดินประมาณ 180 เมตร เปิดหน่วยวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ราชการประมาณ 40 วัน

 

วันที่ 13 กันยายน 2564 กรมเจ้าท่า สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ โดยสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 5 นายสาธิต กุลเกียรติศักดิ์ นายช่างขุดลอกชำนาญงาน ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกร่องน้ำแหลมทองหลาง อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เปิดหน่วยฯ วันที่ 30 สิงหาคม 2564 ราชการประมาณ 40 วัน โดยเรือเจ้าท่า ข.23 เรือเจ้าท่า 223 ระยะทาง 670 เมตร ความลึก 1.50 เมตรจากน้ำลงต่ำสุด ปริมาณวัสดุขุดลอก 63,515 ลูกบาศ์เมตร
*วัตถุประสงค์ขุดลอก ร่องน้ำเพื่อให้ได้ความลึก ความกว้างตามเกณฑ์ เแก้ไขปัญหาการตื้นเขินของร่องน้ำจากตะกอนโคลนปนทราย เศษวัสดุที่สะสมกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้เรือประมงพื้นบ้าน สามารถสัญจรผ่านเข้า-ออก ร่องน้ำได้สะดวกมีความปลอดภัย จอดเรือ หลบคลื่นลมและเกิดเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ สัตว์น้ำอาศัยเป็นถิ่นที่อยู่หากินมากขึ้น ทำให้เพิ่มผลผลิต ส่งเสริมการประกอบอาชึพทางการประมงพื้นบ้าน
*ผลการปฎิบัติงาน
– เริ่มขุดลอก จุดเริ่มต้น กม -0+500. ขุดเข้าทิ้งดินด้านขวา ระยะแนวท่อทิ้งดินประมาณ 180 เมตร ระยะทาง 166 เมตร วัสดุขุดลอก 10,029 ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 15.79 ของแผนงาน
– สภาพอากาศ ท้องฟ้ามึดครึ้ม ทะเลมีคลื่นลมเล็กน้อย ปฎิบัติงานได้ปกติ
 
เจ้าท่าคือผู้ดูแลร่องน้ำทางเรือเดิน
“ภารกิจเหนือสิ่งอื่นใด กรมเจ้าท่าเพื่อประชาชน”

วันที่:26 ตุลาคม 2564

เข้าชม:

Post View : 81

ข้อมูลโดย: Marine Department Admin

แกลเลอรี่